ประเภทของไข่มุก
มุกธรรมชาติ
เกิดจากวัตถุภายนอกหลุดเข้าไปในหอย หอยจึงเกิดการระคายเคืองและผลิตสารมุกมาเคลือบ โดยผลิตจากเซลล์บุผิวของเนื้อแมนเทิล (Mantle) ซึ่งเป็นอวัยวะเดียวกันที่สร้างเปลือกหอยเนื้อแมนเทิลมีหน้าที่ดึงสารประกอบแคลเซียมจากน้ำมาสร้างชั้นเปลือกขึ้น ชั้นมุกจึงประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เรียกว่า อะราโกไนท์ (Aragonite) และเมื่อรวมตัวกับเมือกและสารจำพวกคอนชิโอลิน (Conchiolin) ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดประกายรุ้งแวววาว มุกชนิดนี้หายากในธรรมชาติ และมีรูปร่างแตกต่างกันเพราะไม่สามารถควบคุมรูปทรงได้ ทำให้มีมนุษย์คิดค้นกระบวนการเกิดมุกในตัวหอยขึ้น จึงเกิดเป็นมุกเลี้ยงในเวลาต่อมา
มุกเลี้ยง
มุกเลี้ยงเกิดจากการค้นคว้าของมนุษย์ โดยนำหอยมุกมาใส่แกนมุกเพื่อควบคุมหอยให้สร้างมุกขึ้นตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ การใส่แกนอาจใส่เป็นแกนซีก มุกที่ได้จึงเรียกมุกซีก หรืออาจใส่แกนทรงกลม มุกที่ได้จึงเรียกมุกกลม จากนั้นนำไปฝังใส่เนื้อเยี่อหอยตรงตำแหน่งที่เหมาะสม และหอยมุกจะถูกเลี้ยงต่ออีกประมาณ 1-2 ปีจึงจะได้มุกที่เกิดจากการเลี้ยง เช่น มุกมาเบ้ มุกอโกย่า มุกเซาท์ซี มุกเกือบกลม
กระบวนการเกิดมุกเลี้ยงและมุกธรรมชาติไม่แตกต่างกัน เพียงแต่กระบวนการนำพาวัตถุเข้าไปในหอย สำหรับมุกธรรมชาตินั้นธรรมชาติเป็นผู้นำพา และมุกเลี้ยงมนุษย์เป็นผู้นำพา
มุกสะปำเพิร์ล
ชนิดหอยที่เลี้ยงมุกมาเบ้
ชื่อภาษาไทย : หอยมุกกัลปังหา หอยมุกกวาง หอยปีกนก
ชื่อวิทยาศาตร์ : Pteria Penquin
ชื่อสามัญ : Golden Wing หรือ Black Wing
มุกซีกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการทำมุกที่ฟาร์มโดยการรวบรวมพันธุ์หอยมุกจากธรรมชาติขนาดตั้งแต่ 13ซม.-ขึ้นไป นำมาติดแกนมุกซีกที่ฝาด้านในของเปลือกฝาละ 1-2เม็ด แล้วแต่ขนาดของหอย
จากนั้นนำไปเจาะรูเพื่อร้อยเป็นพวง พวงละ 3 -5 ตัว และนำไปแขวนเลี้ยงในทะเลอย่างต่ำประมาณ 12 เดือน
แต่ขณะนี้นักวิชาการของฟาร์มได้ค้นพบวีธีการเลี้ยงหอยชนิดนี้โดยใช้ระยะเวลาอย่างต่ำเพียง 10 เดือนเท่านั้นก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมุกได้
โดยทั่วไปจะทำจากหอยมุกเซาท์ซีซึ่งจะให้มุกเป็นสีขาวและครีม
แต่หอยมุกกัลปังหาที่พบอยู่มากในทะเลอันดามัน จะสร้างมุกที่มีเอกลักษณ์กว่าทั่วไป ด้วย“สีรุ้งอมฟ้า รุ้งอมทอง” เป็นลักษณะที่โดดเด่นในฝั่งทะเลอันดามัน
มุกอโกย่า
ชนิดหอยที่เลี้ยงมุกอโกย่า
ชื่อภาษาไทย : หอยมุกแกลบ หอยมุกกระจิ หอยมุกกระแจะ
ชื่อวิทยาศาตร์ : Pinctada Fucata
ชื่อสามัญ : Vulgaris
มุกอโกย่าเป็นมุกกลมที่มีขนาดตั้งแต่ 2 -9 มม.
หอยพันธุ์นี้ได้รวบรวมจากธรรมชาติที่มีขนาดตั้งแต่ 5 -10 ซม. แล้วได้นำไปทำการผ่าตัดฝังแกนมุกบริเวณติ่งเพศของหอย( Gonad หรือ Pearl sac) โดยต้องอาศัยผู้ชำนาญพิเศษมิฉะนั้นอาจทำให้หอยตายได้ จากน้ำจะทำการตรวจเช็คอัตราการตาย และการคายแกนมุกเป็นระยะเวลา6 สัปดาห์ จึงจะนำไปเลี้ยงในทะเลต่อเป็นระยะเวลาประมาณ 12 เดือน
Akoya Pearl
ชนิดหอยที่เลี้ยงมุกอโกย่า
ชื่อภาษาไทย : หอยมุกแกลบ หอยมุกกระจิ หอยมุกกระแจะ
ชื่อวิทยาศาตร์ : Pinctada Fucata
ชื่อสามัญ : Vulgaris
มุกอโกย่าเป็นมุกกลมที่มีขนาดตั้งแต่ 2 -9 มม.
หอยพันธุ์นี้ได้รวบรวมจากธรรมชาติที่มีขนาดตั้งแต่ 5 -10 ซม. แล้วได้นำไปทำการผ่าตัดฝังแกนมุกบริเวณติ่งเพศของหอย( Gonad หรือ Pearl sac) โดยต้องอาศัยผู้ชำนาญพิเศษมิฉะนั้นอาจทำให้หอยตายได้ จากน้ำจะทำการตรวจเช็คอัตราการตาย และการคายแกนมุกเป็นระยะเวลา6 สัปดาห์ จึงจะนำไปเลี้ยงในทะเลต่อเป็นระยะเวลาประมาณ 12 เดือน
เป็นผลผลิตใหม่ที่ทาง บริษัทได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมา ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะรวมลักษณะเด่นของมุกเซาท์ซีและมุกมาเบ้เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดมุกชนิดใหม่ที่มีสีรุ้งทอง และเพิ่มอัตราการรอดให้สูงขึ้น จึงได้เริ่มทำการวิจัยและพัฒนามาตั้งแต่ปี 2541 จนประสบผลสำเร็จเมื่อปี2545 หลังจากนั้นมุกเกือบกลมได้ถูกจดเป็นสิทธิบัตรในนามของประธานบริษัท