การเพาะเลี้ยงไข่มุก
ชาวประมงท้องถิ่นที่ชำนาญดำน้ำหาหอยมุกกลางทะเล ลำเลียงหอยมุกมาที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงของบริษัทภูเก็ตไข่มุก
หลังจากนั้นหอยมุกจะได้รับการพักฟื้นในระยะเวลาประมาณครึ่งเดือน หรือจนกว่าจะกลับมาแข็งแรง ในโซนพักฟื้นของฟาร์ม
หลังการพักฟื้น หอยมุกจะถูกจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หอยมุกสำหรับการเพาะเลี้ยง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์
กลุ่มที่ 2 หอยมุกที่มีลักษณะโครงสร้างที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะนำมาฝังเม็ดนิวเคลียสได้ 2 เม็ด
กลุ่มที่ 3 หอยมุกที่มีลักษณะสมบูรณ์ แต่โครงสร้างเปลือกไม่สมบูรณ์ ก็จะนำมาฝังเม็ดนิวเคลียสแค่ 1 เม็ด
เม็ดนิวเคลียสแต่ละขนาดจะถูกนำไปฝังในตัวหอย โดยใช้ขนาดตามลักษณะของหอยแต่ละตัว
หลังจากนั้นหอยมุกจะถูกนำมาพักฟื้นในที่ฟาร์ม เพื่อการเฝ้าดูแล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หอยต้องการๆดูแลอย่างพิเศษ เพราะเป็นระยะเวลาระวังอัตราการตายของหอย โดยมีเจ้าหน้าที่ๆฟาร์มจะทำการสังเกตการณ์และตรวจเช็คหอยมุกอย่างละเอียดในระยะเวลาประมาณ 30 วัน
การเพาะเลี้ยงไข่มุกเป็นลักษณะแขวนลอย หอยมุกที่มีสภาพแข็งแรงหลังขั้นตอนฝังเม็ดนิวเคลียส จะผ่านขั้นตอนการเจาะรูที่บริเวณฝาหอย เพื่อร้อยเป็นพวงก่อนที่จะนำไปแขวนเลี้ยงในฟาร์ม
ในช่วงการเลี้ยงหอยเพื่อรอการสร้างมุก จะมีการทำความสะอาดให้ตัวหอยอย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดศัตรูหอยที่เกาะอยู่ที่ตัวหอย ซึ่งมีผลต่ออัตราการรอดของหอย
เมื่อได้เวลาประมาณ 10-24เดือน ไข่มุกก็จะถูกก็ดำเนินการเก็บเกี่ยวจากหอย
ผลผลิตไข่มุกเหล่านี้จะผ่านการลำเลียงจัดส่งโรงงานPhuket Pearl เพื่อการแบ่งวัตถุดิบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ไข่มุก ไข่มุกที่ติดอยู่กับเปลือกหอย และเปลือกหอยมุก
ขั้นตอนถัดมา ไข่มุกจะถุกส่งเข้าสู่กระบวนการแปรรูปวัตถุดิบ โดยผ่านขั้นตอนการคัดแยก แปรรูป และประกอบตัวเรือน ภายใต้มาตรฐานคุณภาพของ บริษัท Phuket Pearl Group